Wednesday, August 19, 2009

กรอบการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ที่ฟินแลนด์

ช่วงนี้มีเรื่องเกี่ยวกับประเทศไทย จากมุมมองของคนข้างนอกเยอะ หนึ่งในนั้นเป็นมุมมองจากคนไทยที่ไปอาศัยอยู่ที่ฝรังเศส แต่เล่าวิธีการจัดการกับการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ น่าสนใจทีเดียว

"ที่ฟินแลนด์ เค้าให้ความสำคัญกับเด็กมาก ๆ และยังกล้าบอกว่าการเรียนที่ฟินแลนด์นั้นถือได้ว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลก" รู้ไหมว่าทำไม?

ฟินแลนด์ไม่ได้บอกว่ามีคนเก่งที่สุดเรียนที่นี่ ไม่ได้บอกว่ามีคนเรียนเก่งเยอะ แต่บอกว่า คนส่วนใหญ่มีความรู้ขั้นพื้นฐานที่ดี และเป็นจำนวนส่วนมากด้วย

เหตุผลก็คือ ที่ฟินแลนด์ ทำให้ทุกคนเก่งเหมือน ๆ กัน ค่อย ๆ เก่ง ค่อย ๆ ผลิต และมีข้อที่น่าสนใจคือ "เด็ก ๆ ที่นั่น จะไม่ได้รับการป้อนการเรียนทางด้านวิชาการจนกระทั่งถึงอายุ 7 ขวบ" ไม่มีการบังคับว่าเด็กแต่ละคนจะต้องเรียนอะไรตามผู้ปกครองสั่ง แต่ปล่อยให้เด็ก ๆ ฝึกการเรียนรู้และหาสิ่งที่ตนเองชอบ

ขั้นเทพ...

มานึกดูก็ใช่ การที่เรากำหนดให้เด็กเรียนอันโน้น อันนี้ หรือว่ากำหนดให้ทำอะไรที่เราอยากให้เค้าเป็น มันดูแล้วเหมือนเป็นการไปกำหนดกรอบความคิดให้เด็ก ตัวอย่างเช่น พ่อแม่อยากให้ลูกเป็นวิศวกร ก็เลยกำหนดให้ลูกเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพราะคิดว่าจบไปแล้วจะมีงานทำ และเป็นอาชีพที่ดีในอนาคต

หรือพ่อแม่เป็นอาจารย์ ลูก ๆ ก็เห็นพ่อแม่ทำงานอย่างนี้ทุกวัน ลูก ๆ ก็เลยไม่รู้จักวิชาชีพอื่น สุดท้ายก็เป็นอาจารย์เหมือนกัน ครอบครัวอาจารย์ซะงั้น

ดังนั้นโอกาสที่จะมีอาชีพใหม่ ๆ ให้เด็กได้ฝันว่าอยากจะเป็น มันก็ดูแคบทุกที

แล้วคุณหละมีกรอบตั้งแต่เมื่อไหร่

Friday, August 14, 2009

knowledge management ภาค social network

วันนี้มาเรียนขบวนการของ knowledge management กับ ดร. วรา วราวิทย์ อาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า ความรู้ และสิ่งที่ทำให้ได้มาซึ่งความรู้ในโลกปัจจุบันนี้ กำลังเปลี่ยนไป เรามีอาจารย์หน้า ใหม่ ๆ ดังนี้

  1. อาจารย์ Google
  2. อาจารย์ Wiki pedia
  3. อาจารย์ Messenger
สิ่งที่ควรจะรู้สำหรับวันนี้มี 2 อย่างคือ
  1. คุณรู้อะไรลึก ๆ เข้าใจ และเป็นเทพ
  2. เพื่อนคุณรู้อะไรที่ลึก ๆ เข้าใจ และเป็นเทพ
แน่นอน คุณต้องสร้างเครือข่ายของเพื่อน ที่ต้องรู้ให้ได้ว่าควรถามสิ่งที่ต้องการรู้จากเพื่อนคนไหน มากกว่าตั้งหน้าตั้งตา ศึกษาทุกเรื่องเอง