- little japan ที่แม่ฮ่องสอน ... เนี่ยนะ!
- กระเช้าที่สงขลา ... ทำไมต้องพยายามมี!
- เราอาจถูกกล่อมให้อยู่กับเงินเดือนตั้งแต่เรียน ว่าให้จบมาแล้วมีเงินเดือนซึ่งมันเป็นขั้นพื้นฐานของทุนนิยม
- เกษตรกรส่งลูกหลานเรียนเพื่ออยากให้มีเงินเดือน แต่ไม่เคยส่งให้เรียนเพื่อกลับมาพัฒนาที่ทำมาหากินของครอบครัว
- แล้วคนกรุง ส่งลูกเรียนอะไร
Sunday, December 30, 2012
นี่เราโดนครอบงำอะไรไปตั้งแต่เด็กหรือเปล่า
วันนี้ดู เสียงประชาชนเปลี่ยนประเทศไทย ได้ความคิดหลาย ๆ อย่างเลยคือ
สิ่งเล็ก ๆ ดี ๆ ที่ทำสิ่งใหญ่ ๆ ได้
เมื่อเราทำสิ่งเล็ก ๆ ให้ดี เมื่อมันมารวมกันเป็นสิ่งใหญ่ มันจะสมบูรณ์แบบ
Tuesday, June 12, 2012
"การสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"
วันนี้เข้าร่วมพิธีเปิด "การสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"
ก็ขอมารีวิวเสียหน่อยว่าไปมาแล้วได้อะไรกลับมาบ้าง
สถานที่ - ถ้าเทียบกับที่ SIPA เคยจัดมาแล้วที่แจ้งวัฒนะ ก็ถือว่าสถานที่ดีกว่ามาก มีการจัดเตรียมตั้งแต่ป้ายทางเข้า การบริการที่จอดรถ การบริการจุดลงทะเบียน การบริการอาหาร โดยเฉพาะอาหารทั้งในส่วนของอาหารว่าง และ อาหารกลางวันนั้น ทำได้ยอดเยี่ยมมาก ไม่ใช่ อาหารระดับยี่ห้อโรงแรมดัง หรืออาหารบรรจุกล่องยี่ห้อดัง ๆ แต่เป็นยี่ห้อ เกษตรศาสตร์ และที่สำคัญมันอร่อยมาก
และเป็นการดีที่เปิดให้น้อง ๆ นักศึกษา ได้เข้ามาร่วมสัมนาในโครงการนี้ด้วย
เนื้อหา - เนื่องจากวันนี้เป็นวันเปิดตัวโครงการ จึงเป็นการนำวิทยากรหลาย ๆ ท่านมาเข้าร่วมเสวนา ในส่วนของซอฟต์แวร์เปิด ซึ่งก็ได้หลาย ๆ มุมมองดี และก็ให้แนวคิดที่ค่อนข้างดีในการนำซอฟต์แวร์เปิดไปใช้งาน แต่ดูเหมือนกับว่า คนส่วนใหญ่ที่มาในครั้งนี้จะมีจุดมุ่งหมายอื่นเข้ามาด้วย เพราะว่าจะมีการเปิดห้องเรียนราคาถูก (เหมือนธงฟ้า) ให้กับผู้สนใจเข้าเรียนมาลงทะเบียนเรียนด้วย โดยส่วนตัวแล้วไม่ค่อยเห็นด้วยกับวิธีการเรียนถูกเท่าไหร่ เพราะว่าเอาเข้าจริงแล้วบริษัทต่าง ๆ ที่เข้ามาร่วมนั้นมีกำลังในการจ่ายค่าอบรมอยู่แล้ว
ก็ขอมารีวิวเสียหน่อยว่าไปมาแล้วได้อะไรกลับมาบ้าง
สถานที่ - ถ้าเทียบกับที่ SIPA เคยจัดมาแล้วที่แจ้งวัฒนะ ก็ถือว่าสถานที่ดีกว่ามาก มีการจัดเตรียมตั้งแต่ป้ายทางเข้า การบริการที่จอดรถ การบริการจุดลงทะเบียน การบริการอาหาร โดยเฉพาะอาหารทั้งในส่วนของอาหารว่าง และ อาหารกลางวันนั้น ทำได้ยอดเยี่ยมมาก ไม่ใช่ อาหารระดับยี่ห้อโรงแรมดัง หรืออาหารบรรจุกล่องยี่ห้อดัง ๆ แต่เป็นยี่ห้อ เกษตรศาสตร์ และที่สำคัญมันอร่อยมาก
และเป็นการดีที่เปิดให้น้อง ๆ นักศึกษา ได้เข้ามาร่วมสัมนาในโครงการนี้ด้วย
เนื้อหา - เนื่องจากวันนี้เป็นวันเปิดตัวโครงการ จึงเป็นการนำวิทยากรหลาย ๆ ท่านมาเข้าร่วมเสวนา ในส่วนของซอฟต์แวร์เปิด ซึ่งก็ได้หลาย ๆ มุมมองดี และก็ให้แนวคิดที่ค่อนข้างดีในการนำซอฟต์แวร์เปิดไปใช้งาน แต่ดูเหมือนกับว่า คนส่วนใหญ่ที่มาในครั้งนี้จะมีจุดมุ่งหมายอื่นเข้ามาด้วย เพราะว่าจะมีการเปิดห้องเรียนราคาถูก (เหมือนธงฟ้า) ให้กับผู้สนใจเข้าเรียนมาลงทะเบียนเรียนด้วย โดยส่วนตัวแล้วไม่ค่อยเห็นด้วยกับวิธีการเรียนถูกเท่าไหร่ เพราะว่าเอาเข้าจริงแล้วบริษัทต่าง ๆ ที่เข้ามาร่วมนั้นมีกำลังในการจ่ายค่าอบรมอยู่แล้ว
ผมมันเป็นพวกหัวดื้อ คือพอไปฟังแล้วไม่ค่อยคล้อยตามเท่าไหร่ จึงขอมาลงความคิดไว้ที่นี่เสียหน่อย ในส่วนตัวแล้วเมื่อแรกเริ่มใช้ open source ก็คิดว่ามันฟรี แต่พอใช้มันมานาน ๆ แล้วไม่ใช่อย่างที่คิด คำว่า open source ที่จริง ๆ แล้วควรหมายความว่า "ซอฟต์แวร์เปิดเสรี" ไม่ใช่ "ซอฟต์แวร์ฟรี" ซึ่ง "ซอฟต์แวร์เปิดเสรี" นั้นน่าจะหมายถึงเปิดให้เข้าถึงได้ คือให้นำมาใช้งาน หรือนำมาใช้โดยมีเงื่อนไขกำหนด โดยส่วนใหญ่คือ "สามารถนำไปใช้ได้" ...อย่างเสรี อาจเหมือน ก ข ค ง ... ที่มาใช้ได้ฟรี
ส่วนหลักสูตรที่เปิดสอนนั้น เนื่องจากใช้เวลาอบรมประมาณ 2-3 วัน ควรระบุให้ชัดเจนไว้ว่าจุดมุ่งหมายคืออะไร แต่ผมก็ขอเสนอเป็นดังนี้
- สอนให้รู้ว่ามีมันอยู่ แค่บอกว่ามันมีอยู่นะ มันสามารถใช้งานอะไรได้บ้าง
- สอนให้ใช้เป็น คือมาลงมือใช้งานไม่ใช่พัฒนา
- สอนให้พัฒนาเป็น ให้พัฒนาเป็นชิ้นเป็นอันได้
และด้วยเนื่องโครงการนี้มีคำว่า AEC อยู่ และวิทยากรพูดถึงขีดความสามารถของคนไทย โดยเฉพาะอย่างย่ิงบุคคลากรที่จะเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งหลาย ๆคนพูดกันว่าหาได้ยากมากในสมัยนี้ เพราะว่าหลาย ๆ คนที่จบมาอยากเป็นอย่างอื่นมากกว่า นักพัฒนา โดยส่วนตัวของผมแล้วคำว่าเปิดนั้น หมายถึง 2 ความหมายด้วยกันคือ เปิดให้เข้า in หรือเปิดไปสู่ out แต่ดูเหมือนกับว่าประเทศเราจะถูกกำหนดให้เปิดให้เข้ามากกว่า เปิดไปสู่ โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติ แต่ทรัพยากรบุคคลนั้น คงออกไปสู่ได้ยาก...! เพราะคนไทยไม่ค่อยเป็นคนแสดงออกเท่าไหร่ แต่มักจะเก็บความเก่งเอาไว้ แล้วใช้เมื่อยามที่ต้องการ (แฮะ...เหมือนจอมพราน รพินทร์)
มีการยกตัวอย่างของประเทศใน AEC ที่น่ากลัวอย่าง สิงคโปร์ แต่ผมคิดว่า เค้ากลัวประเทศเรา..เก่ง..มากกว่า เพราะว่าผมมองว่าสิงคโปร์เก่งไม่กี่อย่างเอง เช่น การตลาด ภาษาสิง-ลิช เพราะว่าเค้าคงปลูกผักไม่เก่ง การประมงไม่เก่ง สร้างตึกไม่เก่ง ผัดข้าวไม่เป็น
ท่านวิทยากรท่านหนึ่งพูดถึงปัญหาภาษาอังกฤษของนักพัฒนา ว่าเป็นปัญหาที่ทำให้เราเข้าถึงการพัฒนาได้ยาก แต่เชื่อผมได้เลยว่า ไม่ใช่กับทุกคนหรอก เพราะว่า นักพัฒนาที่ผมเจอนั้น บางคนพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เรื่องเลย แต่ก็พัฒนาโปรแกรมได้ดี เค้าใช้สมองอีกด้านจินตนาการแล้วพัฒนาโปรแกรม นี่ดีนะที่โปรแกรมไม่ได้เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น ไม่อย่างนั้นผมว่าหลาย ๆ คนคงต้องไปเรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเพื่อพัฒนาโปรแกรมเป็น
ผมเข้าใจว่าน้อง ๆ นักศึกษาที่เข้าร่วมวันนี้ อยากจะเป็นนักพัฒนามากกว่า เป็นซุปเปอร์ยูสเซอร์ ดังนั้นในการนำเสนอให้ใช้โปรแกรมที่เป็นซอฟต์แวร์เปิดมากไป แต่ไม่สนับสนุนให้ลองสร้างซอฟต์แวร์บ้าง อาจเป็นการปิดกั้นไปหน่อย เพราะผมเชื่อว่าหากเรานำเอาสิ่งที่สร้างได้ด้วยฝีมือคนไทย แบบไทย ๆ แล้วเปิดไปให้ประเทศอื่นใช้งานบ้าง น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อยเหมือนกัน เพราะว่า FB เองก็ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่กว่าระบบศิษย์เก่าของประเทศไทยเท่าไหร่ ผมเชื่อว่าหากเราพัฒนาระบบต่าง ๆ เหล่านี้เองในประเทศ คงมีหลายประเทศอยากใช้ด้วย
"เราพยายามเป็นเหมือนคนอื่นมากเกินไป จนลืมว่าเราควรเป็นตัวของตัวเองบ้าง"
สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นต่อไป - การที่มีโครงการนี้เกิดขึ้นนั้น ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ได้จัดให้เกิดความรู้ขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการเข้ามาหาความรู้ โดยเฉพาะนักศึกษา แต่ผมก็อยากให้เกิดเป็นโครงการอื่น ๆ ต่อมา ไม่ใช่ว่าจัดกันเป็นประจำทุกปี แล้วแค่มาสัมมนากัน ต่างคนต่างกลับบ้านไป
เป็นไปได้หรือไม่ว่า "ให้กำหนดระบบซักระบบหนึ่งที่เราจะร่วมกันพัฒนา เพื่อให้ใช้ร่วมกัน และพัฒนาให้ดีขึ้นต่อ ๆ ไป"
Saturday, April 7, 2012
เลื่อนหน้าจอ ด้วย iSight
วันนี้นั่งใช้งาน Mac Book อยู่ ก็คิดทันใดว่า ทำไมเราไม่ใช้ iSight ที่เราไม่ค่อยได้ใช้ มาเป็นตัวควบคุมการเลื่อนหน้าจอ อาจจะด้วยท่าทาง หรือจับจากลูกตาดำ ว่าเรากำลังจะเลื่อนหน้าจอไปทาง ไหนดี เพราะเดี๋ยวนี้ผมอ่านหนังสือผ่า นหน้าจอคอมฯ ซะส่วนใหญ่
เอ.. หรือว่าเราควรจะเริ่มจากรหัสมือ ก่อน เช่น ปัดซ้าย ปัดขวา ปัดขึ้น ปัดลง
เพื่อน ๆ คงไม่คิดว่าผมนั่งปัดแมลงอยู่หน ้าจอมั้ง?
เอ.. หรือว่าเราควรจะเริ่มจากรหัสมือ
เพื่อน ๆ คงไม่คิดว่าผมนั่งปัดแมลงอยู่หน
Wednesday, March 14, 2012
Copy failed
บ่อยครั้งที่มีเรื่องขำ ๆ ตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ ที่พอเวลาเกิดปัญหาอะไรขึ้น เราก็จะบอกว่า "ที่ประเทศโน้น ประเทศนี้เค้าทำกันอย่างนั้น อย่างนี้"
พอโตมา คำพวกนี้ก็ยังมีอยู่
ขณะนี้เราเลยสรุปได้ว่า มีหลาย ๆ อย่างเราไป copy เค้ามา แต่ก็ failed เพราะว่า ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ แถมยัง ไม่ปรับให้เข้ากับประเทศของเราอีก เช่น
สัญญาณไฟแดง ทางม้าลาย สะพานลอยคนข้ามถนน อุโมงค์ วงเวียน ... ประชาธิปไตย?
พอโตมา คำพวกนี้ก็ยังมีอยู่
ขณะนี้เราเลยสรุปได้ว่า มีหลาย ๆ อย่างเราไป copy เค้ามา แต่ก็ failed เพราะว่า ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ แถมยัง ไม่ปรับให้เข้ากับประเทศของเราอีก เช่น
สัญญาณไฟแดง ทางม้าลาย สะพานลอยคนข้ามถนน อุโมงค์ วงเวียน ... ประชาธิปไตย?
Saturday, February 25, 2012
ฝัน
ผมฝันไว้ว่า จะมีห้องที่มีแผนที่ของประเทศไทย ที่เป็นแบบจำลองย่อส่วนมา เอาไว้ดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
Friday, February 24, 2012
1+1
มีเด็กน้อย ๆ คนหนึ่งเดินมาถามว่า "1+1" เท่ากับเท่าไหร่?
ทันใดนั้นก็หยุดแล้วถามเด็กต่อไปว่า อันนี้เรียกว่า กี่อัน แล้วอีกอัน เรียกว่ากี่อัน แล้วถ้าเอามาวางรวมกันแล้วเรียกว่ากี่อัน
เด็กตอบทันที่ว่า 2
ทันใดนั้นก็หยุดแล้วถามเด็กต่อไปว่า อันนี้เรียกว่า กี่อัน แล้วอีกอัน เรียกว่ากี่อัน แล้วถ้าเอามาวางรวมกันแล้วเรียกว่ากี่อัน
เด็กตอบทันที่ว่า 2
Subscribe to:
Posts (Atom)