Sunday, March 29, 2009

Friday, March 27, 2009

ดูไบ กับ ประเทศไทยขณะนี้

เมื่อคืนดูรายการ ชีพจรโลก ของคุณสุทธิชัย หยุ่น เค้าหยิบเรื่อง ดูไบ มาเสนอ

เวลาพูดถึงดูไบ ผมจะนึกถึงสายการบินอาหรับเอมิเรต แต่นึกไม่ออกว่า ดูไบ เป็นประเทศอย่างไร พอดูรายการนี้จึงทำให้เราเข้าใจประเทศนี้มากขึ้น

ดูไบเป็นประเทศที่ส่งออกนำ้มัน (ที่ผมเข้าใจผิดมาแต่แรก) แค่ 6% ของ GDP แต่ส่งที่ดูไบ ได้ดำเนินการในขณะนี้คือ อสังหาริมทรัพย์ ไม่น่าเชื่อว่า เค้าทำการถมทะเลเพื่อทำเกาะ มีทั้งเกาะที่เป็นรูปต้นปาล์ม แผนที่โลก หรือแค่กระทั้งแผนที่ จักรวาล

สิ่งที่ผู้นำดูไบในตั้งวิสัยทัศน์ไว้คือ "ดูไบ ส่งออกนำ้มันอย่างเดียวไม่ได้ เพราะว่าบ่อนำ้มัน มันเล็ก ดังนั้นดูไบ ต้องมองหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อรองรับอนาคตเสมอ" และนั้นก็คือการเป็นศูนย์กลางของตะวันออกกลางนั่นเอง เวลาในการเดินทางจากยุโรปมา ตะวันออกกลางคือ 6 ชั่วโมง เวลาเดินทางจากตะวันออกกลางไปเอเซียประมาณ 6 ชั่วโมง

แน่นอนเมื่อเป็นศูนย์กลางของตะวันออกกลางนั้น หมายความว่าเค้าจะต้องมีสาธารนูปโภคไว้ให้บริการด้วย โรงแรมเกิดกลางทะเล ที่ได้ทำการสร้างเกาะไว้เป็นจำนวนมาก 5 ดาว น่าจะไม่พอสำหรับโรงแรมที่นี่

สิ่งที่ผู้นำดูไบ กล่าวไว้คือ "นี้เป็นแค่ 10% ที่กำลังจะเกิด" อีก 100 ปีข้างหน้าดูไบจะเป็นยิ่งกว่านี้

ผมหละทึ่ง!!! คุณว่าไหม

เมื่อก่อนไม่รู้หรอกว่า การเดินทางไปต่างประเทศนั้นสำคัญอย่างไร แต่พอมีรายการต่าง ๆ ที่พาไปดูโน้นดูนี่เยอะ ๆ แล้ว มันทำให้ผมรู้่ว่าคนเราต้องเดินทาง ยิ่งเดินทางมาก ยิ่งรู้มาก เหมือนรายการ princess diary ได้กล่าวไว้

ไม่รู้ว่าคิดรวมกันกับการไปดูงานของหน่วยงานต่างๆ ได้หรือไม่ยิ่งข้าราชการ หรือการเดินทางเพื่อไปเที่ยวแบบไม่ค่อยได้อะไรกลับมาพัฒนาเท่าไหร่


หันกลับมาดูเมืองไทยวันนี้ หรือ ความจริงวันนี้ ผมเห็นประเทศแล้วผมสงสาร ลูกหลาน ของประเทศ ที่ต้องมาคอยรับผลของการกระทำทุกวันนี้ ผมไม่รู้ว่าเค้าคิดอะไรกัน แต่แน่นอน ผลที่เกิดขึ้นไม่ดีอย่างแน่นอน มันเหมือนว่า "ทุกวันนี้เราไม่ได้ทำลายตัวเอง แต่เรากำลังทำลายอนาคต กำลังใช้ทรัพยากร ของลูกหลานเราต่างหาก"

อ้อ คุณจะรู้สึกอย่างไรถ้าเจออย่างผม เปิดรายการชีพจรโลก ดูการพัฒนาของดูไบ แล้วในเวลาเดียวกันก็เห็นรายการ สารคดีข่าว บอกว่า "วันนี้พบรอยพญานาค ที่วัดโน้นวัดนี้"

ผมยังมองไม่ออกว่า อีก 100 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ที่ดูไบ เค้าคิดว่าเค้าจะไม่มีน้ำมันขายแล้ว แล้วบ้านเราหละคิดหรือยังว่า ถ้าไม่มีทรัพยากร ไม่มีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์แล้ว เราจะทำอะไร

ผมรักประเทศไทย และก็ยังคงทำอะไรบ้างเพื่อประเทศแล้วคุณหละ

Sunday, March 15, 2009

การรับงาน Software Development ของผู้พัฒนา

นอกจากนักพัฒนาระบบจะต้องพัฒนาระบบให้สำเร็จแล้วนั้น ยังมีส่วนที่นักพัฒนาระบบมักจะลืมอยู่ คือ งานเอกสาร ซึ่งงานเอกสารนี้เองที่กินเวลามาก และบางครั้งกินเวลามากกว่าการพัฒนาระบบเสียอีก

บ่อยครั้งที่พนักงานขายมักจะลืมคิดประเด็นนี้ไป และใช้ส่วนนี้เป็นส่วนลดราคาของงาน หากได้มีข้อตกลงกันไว้แล้วกับลูกค้าก็ดีไป แต่หากไม่หละก็ ผมบอกได้เลยว่า นาน ๆ ๆ ๆ

เอกสารมีอะไรบ้างมาดูกัน

เอกสารก่อนตกลงซื้อขาย
  1. เอกสารเสนอราคา
  2. เอกสารแนะนำระบบ Presentation ทั้งหลายนั้นแหละ
  3. เอกสารความสามารถของระบบ (Features list)
  4. เอกสารความต้องการของระบบ (System Requirement)
  5. เอกสารข้อกำหนดก่อนเริ่ม (Preliminary)
  6. เอกสารของเอกสาร (Request for proposal)
  7. เอกสารคู่เทียบหากต้องการเทียบกับระบบอื่น (อันนี้น่าจะเป็นหน้าที่ของลูกค้า คุณว่าอย่างผมหรือเปล่า)
เอกสารระหว่างดำเนินการ
  1. ตารางเวลาของการพัฒนาระบบ
  2. ตารางเวลาทดสอบระบบ
  3. ตารางเวลาการอบรม
  4. ตารางเวลาใช้งานระบบ
  5. เอกสารด้านบัญชี เช่น การแจ้งหนี้ การเก็บงวดต่าง ๆ
เอกสารหลังจากดำเนินการเสร็จ
  1. เอกสารรับระบบ
  2. เอกสารรับประกันระบบ
เท่าที่นึกได้นั้น มีเท่านี้ แต่แค่นี้ก็นึกออกแล้วหรือไม่ว่า งานทางด้านเอกสารนั้นเป็นงานที่ค่อนข้างหนักเอาการ

ดังนั้นหากต้องการหลีกเลี่ยงความสับสน และวุ่นวายต่าง ๆ แนะนำให้รีบดำเนินการไว้ก่อนได้เลย ยิ่งทำเป็น online document ได้ยิ่งดี ปล่อยให้ลูกค้าดำเนินการศึกษาเองบ้าง อย่าไปทำให้ทั้งหมด เพราะบ่อยครั้งที่ระบบที่พัฒนาจากฝีมือคนไทยนั้น ทางลูกค้าไม่ยอมทำการบ้านเองบ้าง แต่พอเป็นระบบที่มาจากต่างประเทศ ลูกค้ากลับศึกษาเองได้


ฝากด้วยนะครับ



Friday, March 13, 2009

ทำไมการเรียนไทยไม่ค่อยพัฒนา ฉบับวันนี้

วันนี้ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมผู้ปกครองนักเรียน เพื่อฟังคะแนนที่นักเรียนทำได้ปลายภาค ก็แปลกตรงที่ว่า นักเรียน เรียนตั้ง ม. ปลาย แล้ว ยังต้องมีผู้ปกครองมาดูผลการเรียนอีกด้วยหรือ สมัยก่อนผมเรียน ก็ต้องทำโน้นทำนี้เองทั้งหมด และรับผิดชอบตัวเองในการเรียนมาตลอด ยกเว้นแต่ค่าเล่าเรียน ที่ยังต้องพึ่งพาทางบ้าน

พอถึงฤดูการเรียนใหม่ ทางโรงเรียนก็แจ้งให้ท่านผู้ปกครองทั้งหลายทราบถึง แนวการเรียนการสอนใหม่ ๆ และวันนี้ก็ต้องนึกถึงอนาคตของน้อง ๆ ที่กำลังเรียนอยู่ ไม่รู้ว่าชะตาการเรียนจะน่าเป็นห่วงอย่างนี้ไปอีกนานเท่าไหร่

สิ่งที่เค้าเรียกว่า นโยบายดี แต่ปฏิบัติห่วยแตก ก็เกิดกับนักเรียนสมัยนี้อีกแล้ว

"เรียนฟรี" เราได้ยินคำนี้มานานมาก แต่ว่ายังไม่ได้ปฏิบัติจริงจังจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ แน่นอนคำ ๆ นี้ มาจากนักการเมืองที่ให้ความหวังไว้กับคนระดับล่าง ถึง กลาง ค่อนไปทางล่าง ในความคิดของผมนั้น คิดว่าการศึกษาน่าจะเป็นการลงทุนของชาติที่ดี แต่กลับว่า การปฏิบัติกลับมีช่องว่างมากมาย จนคิดว่าการลงทุนครั้งนี้เหลวแน่นอน

เอาเข้าจริงก็ไม่รู้ว่าเรียนโรงเรียนเอกชน ได้การศึกษาที่ดี หรือว่าเรียนรัฐบาลเพื่อให้ได้จริยธรรมกันแน่



Debian etch with Subversion 1.5

If you need to do merge with svnmerge.py. I recommend you to install subversion 1.5.x. Let's go to create .deb by yourown.

# log in to your system
user$ mkdir subversion

# download the source package from debian package site. Sure! you're downloading from Leny
# then decompress them
user$ tar xzvf subversion_1.5.1dfsg1.orig.tar.gz
user$ gunzip subversion_1.5.1dfsg1-2.diff.gz

# Then you need to patch with debian specific changes
user$ patch -p0 <>

# change directory to source directory
user $ cd subversion_1.5.1dfsg1

# change the permission to allow to edit
user$ chmod 755 debian/rules

# transform to ROOT user to install dependencies
root# apt-get build-dep subversion
root# apt-get install python-all-dev libneon26-dev quilt libsasl2-dev fakeroot debhelper

# then switch back to user and build the package
user$ dpkg-buildpackage -rfakeroot -uc -b -d


# before install new subversion package, we need to do backup repositories
# do this for each repository

user$ svnadmin dump /path/to/repository > /home/user/repos_dump.txt

# i do more backup with tar
user$ tar czvpf /home/user/repos.tgz -C /path/to repository

# if no error then install these packages
root# dpkg -i *.deb

# Then upgrade repository with new svnadmin
user$ svnadmin upgrade /path/to/repository


Good Luck!