Thursday, June 10, 2010

การสอนแบบยึดนักเรียนเป็นหลัก

วันนี้ก็เป็นอีก 1 วันใน 4 วันที่จะต้องเข้าประชุมผู้ปกครองนักเรียนที่ที่น้องผมเรียนอยู่ ซึ่งวันนี้เป็นวันที่ทางโรงเรียนได้จัดให้ผู้ปกครองเสนอแนวทางในการจัดบุคคลากรเข้ามาสอนเสริมวันเสาร์ ซึ่งปกติแล้วทางโรงเรียนก็จะมีการจัดหาและการประเมินผู้สอนอยู่แล้ว

ทางโรงเรียนก็นำเสนอการจัดหาดังนี้

1.  อาจารย์ที่สอนปกติอยู่แล้วในโรงเรียนหรือที่อื่น ๆ ที่ทางผู้จัดหาเห็นว่าเหมาะสม
2.  อาจารย์สอนพิเศษที่มีชื่อเสียง เช่น อาจารย์อุ อาจารย์เผ่า

หลังจากมีผู้ปกครองออกไปหน้าห้องและให้ความเห็นต่าง ๆ ก็สรุปถึงปัญหาและแนวทางได้ดังนี้

1. นักเรียนไม่ค่อยเข้าเรียน - ทั้ง ๆที่เป็นการจ้างอาจารย์พิเศษมาจากที่อื่น และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ก็ยังมีนักเรียนบางคนไม่ค่อยสนใจเรียน เอาแต่แตะบอล หรือไม่ก็เข้าเรียนช้า
2. นักเรียนแต่งการตามรูปแบบที่ตกลงกัน คือ ให้แต่งชุดนักเรียนปกติ แต่ก็มีนักเรียนบางคนแต่งชุดพละมาเรียน
3. อยากให้มีการจัดหาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ มาสอน


พอฟังได้ซักพักก็มีผู้ปกครองหลายท่านออกมาให้ความเห็นกัน จนกระทั่งผมคิดว่าความเห็นผมน่าจะมีประโยชน์กับผู้ปกครองที่มาประชุมบ้าง เพราะว่าผมเป็นพี่ชายไม่ใช้พ่อแม่ของนักเรียน แล้วผมก็เดินออกไปให้ความเห็นดังนี้

"สวัสดีครับ ผมเป็นผู้ปกครองของนักเรียน แต่เป็นพี่ชาย ไม่ใช่พ่อ และแม่ของนักเรียน ผมอยากจะมีเสนอแนวคิดของพี่ชาย ด้วยเหตุผลที่ว่า พี่ชายจะสนิทกับน้องชายมากกว่า พ่อและแม่" แล้วผมก็ถามต่อไปว่า 
"มีพ่อแม่ทานใดเคยเข้าไปเรียนพิเศษกับลูกชายที่สถาบันติว ต่าง ๆ บ้าง ?"
หลาย ๆ ท่านบอกว่า ไม่เคย บ้างก็มีบอกว่า สถาบันนั้น ๆ ไม่ให้เค้าไป ...
รอสักพัก ผมก็บอกไปว่า "ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยเป็นนักเรียนที่ไปติวครับ ในการติวนั้นสำหรับผมเอง ผมต่อต้านการติวมาตลอด เพราะว่าการติวไม่ใช่การทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มและนำไปใช้ได้เท่าไหร่ แต่เป็นการติวว่าจะทำข้อสอบอย่างไร"
"การเรียนที่ดีที่สุดคือการเรียนที่ห้องเรียนนั่นแหละครับ เพราะว่านักเรียนจะได้พื้นฐานที่ดี และถ้าหากมีพื้นฐานที่ดีแล้วการไปติวที่สถาบันนั้นก็จะเกิดประโยชน์มากกว่า  การที่นักเรียนที่มีพื้นฐานที่ไม่ดีไปติวนั้น ก็เหมือนกับส่งนักเรียนไปนั่งเล่นเสียมากกว่า ไม่ได้ประโยชน์อะไร ดังนั้น หากเรานำอาจารย์ที่ติว มาสอนนักเรียนในวันเสาร์ ผมคิดว่าไม่เกิดประโยชน์"

"เมื่อก่อนเคยเรียนกวดวิชากับอาจารย์หลังเลิกเรียน ในสถานที่นี่แหละ ผมว่าอาจารย์คนนั้นสอนให้ผมเข้าใจในวิชานั้น และนำไปใช้งานได้มากกว่าจะทำข้อสอบได้ ดังนั้นผมไม่เห็นว่าจำเป็นจะต้องนำอาจารย์ที่มีชื่อจากสถาบันกวดวิชาต่าง ๆ มาสอนก็ได้ แต่อยากให้เสนออาจารย์ที่สอนแล้วนักเรียนเข้าใจมาสอนมากกว่า"

"ส่วนเรื่องการแต่งกายของนักเรียนที่ห้ามไม่ให้นักเรียนแต่ชุดพละมาเรียนนั้น ผมคิดว่ามันเป็นคนละเรื่องกันกับการเรียน และเหตุผลที่อาจารย์บอกว่า เพื่อให้ทางโรงเรียนตรวจสอบได้ว่าเป็นักเรียนที่จะมาเรียนพิเศษหรือเป็นคนอื่นนั้น  เท่าที่ฟังแล้วทางโรงเรียนก็ไม่ได้แจ้งให้นักเรียนทราบถึงเหตุผล ดังนั้นแน่นอนนักเรียนก็ย่อมไม่เข้าใจว่าทำไม ถึงแต่งชุดพละไม่ได้ ซึ่งผมคิดว่าหากเขาแต่งชุดสุภาพมาเรียน และตั้งใจเรียน ก็ย่อมจะเป็นผลดีกว่า ส่วนเรื่องการตรวจสอนนั้น เราก็น่าจะมีวิธีอื่น แต่ที่สำคัญคือ อยากให้นักเรียนมาเรียนมากกว่า "


เสียดายที่มีเวลาน้อยไป ผมเลยไม่ได้สรุปประเด็นสำคัญอีกอย่าง แต่ก็ขอมาสรุปที่นี่ไว้ดังนี้


ในส่วนตัวทั้งที่เคยเป็นนักเรียน และเป็นผู้ปกครอง ผมมีความคิดว่า "การเรียนในประเทศไทย ไม่มีประสิทธิภาพอย่างมาก และมักจะเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองมากไป ทำให้ขาดการจัดการและการบริการอย่างเป็นระบบ" เช่น การออกข้อสอบที่ยังเป็น ก.​ข.​ค.ง ที่มีการกำหนดกรอบความคิด และยังเป็นการสอนนักเรียนเดาคำตอบ มากกว่าจะหาคำตอบ ซึ่งพอเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยแล้ว เด็กที่เรียนมาแบบ กขคง. นั้นก็จะลำบาก เพราะว่าไม่มีกรอบให้คิด ผมยังเกือบเอาตัวไม่รอด  และต่อมาก็มีแนวคิดว่าจะมีการเรียนการสอนแบบให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผมคิดว่าแนวคิดอันนี้ดีทีเดียว แต่ว่าพอมาปฏิบัติแล้ว ดูผิดจากความคาดหวัง

เอาไว้หัวข้อหน้า ผมจะมาเขียนสิ่งที่อยากให้การเรียนการสอนในเมืองไทยเป็น


ป.ล. ความเห็นนี้เป็นความเห็นของ โรงเรียน รัฐบาลที่มีเงินทุนน้อยนะครับ เพราะว่าผมไม่เคยเรียนเอกชน หรือโรงเรียนรัฐบาล ที่ผู้ปกครองต้องแย่งกันให้นักเรียนได้เข้าเรียน

3 comments:

Anonymous said...

อ่านแล้วก็งงนะคะ ปัญหาที่ครูบอกนะคะ

1. นักเรียนไม่ค่อยเข้าเรียน - ทั้ง ๆที่เป็นการจ้างอาจารย์พิเศษมาจากที่อื่น และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ก็ยังมีนักเรียนบางคนไม่ค่อยสนใจเรียน เอาแต่แตะบอล หรือไม่ก็เข้าเรียนช้า
>>> ก็เป็นเรื่องปกติของนักเรียนอยู่แล้วนี่ค่ะ ไปห้ามกันในเรื่องพวกนี้คงลำบากค่ะ ประเด็นเรื่องไม่เข้าเรียน ไม่สนใจคงไม่น่าจะเกี่ยวกับอาจารย์พิเศษ/จ้างมาแพง หรืออาจารย์ปกติหรอกค่ะ มันคือความประพฤติของนักเรียนที่มีพื้นฐานมาจากความเป็นตัวตนของนักเรียนที่สะท้อนต่อการสอนของอาจารย์


2. นักเรียนแต่งการตามรูปแบบที่ตกลงกัน คือ ให้แต่งชุดนักเรียนปกติ แต่ก็มีนักเรียนบางคนแต่งชุดพละมาเรียน
>>>> เออ... สมัยนี้มีแบบนี้ด้วยนะคะ ถ้าเขาใส่ชุดพละมา แต่คนอื่น ๆ ในห้องใส่ชุดนักเรียนธรรมดา เขาจะโดดเด่นมาก คุณครูก็ต้องทำอะไรซะอย่างอยู่แล้ว หรือว่าคุณครูละเลยในเรื่องนี้ค่ะ เคยได้ลองดูพฤติกรรมของคุณครูหรือไม่ ก่อนที่จะโทษนักเรียน


3. อยากให้มีการจัดหาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ มาสอน
>>>> ท่าทางโรงเรียนนี้ คุณครูเขาจะไม่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองนะคะ ถึงคิดแต่ว่าอาจารย์มีชื่อเสียงจะดีกว่า ครูในโรงเรียน อาจจะขาดการประเมินความสามารถในการสอนของครูในโรงเรียนหรือเปล่า ถึงไม่คิดว่าครูของโรงเรียนจะมีความสามารถสอนให้นักเรียนเข้าใจได้ ต้องหาคนอื่นมาช่วย อย่างนี้นักเรียนก็คงลำบากแล้วล่ะค่ะ ถ้าครูคิดเช่นนี้

Anonymous said...

อย่ามองแต่ปัจจัยภายนอก หรือโทษว่าเป็นความผิดของนักเรียน ปัญหาส่วนใหญ่ในการประพฤติตนของนักเรียนล้วนมาจากการบ่มเพาะจากครอบครัว และโรงเรียน

อย่าตัดสินการกระทำของเด็ก โดยใช้มุมมองของคนอื่น โปรดใช้มุมมองของเด็กมอง แล้วเราจึงจะเข้าใจถึงปัญหาของเด็ก

อย่าให้เด็กคิดว่า "พ่อแม่/คุณครูรังแกฉัน"

Anonymous said...

ฝากบทความจากหนุ่มเมืองจันท์ มาให้อ่าน
-----------------------------------------------------
สมมติถ้าคุณเจอเด็กคนหนึ่งที่มีคุณสมบัติด้านลบดังต่อไปนี้
1. ไม่มีวินัยในการเรียน
2. ท่องหนังสือเฉพาะตอนใกล้สอบ
3. เข้าห้องเรียนช้า
4. ไม่รักษาของ
5. ลืมนั่น ทิ้งนี่

แต่มีข้อดีเพียงอย่างเดียว คือ
6. เป็นนักอ่าน

ผู้ใหญ่อย่างคุณจะทำนายอนาคตเด็กคนนี้ว่าอย่างไร ??

ในขณะที่ "ผู้ใหญ่" มองเด็กคนนี้ในแง่ลบ แต่เชื่อไหมว่าก่อนจบการศึกษา ครูให้นักเรียนในห้องเรียนโหวตเลือก "ผู้ที่น่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในห้อง"

"เด็กคนนี้" ได้คะแนนสูงสุด

แสดงว่าเด็กวัยเดียวกันที่ใกล้ชิดกับเขามองเห็น "ความพิเศษ"ในตัวเขา ในขณะที่ พ่อ แม่ และครูมองไม่เห็น

เด็กคนนี้ต่อมาเป็นนักการเมือง และได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา

เขาชื่อ "จอห์น เอฟ.เคนเนดี้"