Monday, October 5, 2009

Decision Support System ในด้านอื่นมากกว่า Finance

ตัวอย่างการใช้งานของ DSS นั้น ส่วนใหญ่จะมุ่งไปยังด้านการเงิน หรือไม่ก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับระบบ ERP เป็นหลัก แต่ปัจจุบันมีการใช้งานระบบสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจึงเกิดมีการนำระบบ DSS ไปวิเคราะห์ในงานด้านใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย

หลายองค์ที่มุ่งเน้นแต่เรื่องทางด้านการเงินก็จะสูญเสียโอกาสอันหนึ่งไปคือ "ระบบการเงินนั้นเป็นระบบปลายน้ำ" กล่าวคือ มันเป็นผลของกิจกรรมอื่น ๆ นั่นเอง จะใช้คาดการอนาคตไม่ได้อย่างถูกต้องนัก

ปัจจัยที่ระบบ DSS ส่วนใหญ่ยังคงอยู่กับระบบการเงินนั้น มีเหตุผลดังนี้

  • เป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลให้วิเคราะห์
  • งานทางด้านอื่น ๆ เช่น การตลาดมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ไว และไม่ค่อยเป็นระเบียบ ทำให้ยากต่อการหารูปแบบที่แน่นอน
  • อาจเป็นไปได้ว่าคนที่มาทำระบบให้ ไม่ค่อยมีประสบการณ์กับระบบอื่น ๆ
ยกตัวอย่างระบบที่เค้าเรียกว่าต้นน้ำกัน
  • ระบบวิเคราะห์การจัดส่งจดหมายหรือสื่อสิ่งพิมพ์ ให้กับลูกค้าที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์ เช่น งานวิเคราะห์ Questionnaire งานการลงทะเบียน
  • การวิเคราะห์หาสาเหตุของการเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์ในแต่ละพื้นที่
  • การหาช่วงเวลาของการเปิดสัญญาณไฟ ตามแยกต่าง ๆ ตามเวลา ที่เหมาะสม

ช่องว่างของการวิเคราะห์เหล่านี้ต้องการผู้ที่เข้าใจการใช้งานข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งปัจจุบันยังขาดบุคคลากรดำเนินการนี้

มาดู WorkFlow ที่เค้าทำกัน

  • ปัญหาที่เกิด
    เมื่อมีลูกจ้างในหน่วยงานด้าน Healthcare จะรู้ได้อย่างไรว่า ใบอนุญาติหมดอายุเมื่อใด วิธีการจัดการมี 2 แบบ คือมอบหมายให้ตัวแทนการจัดหาลูกจ้างคอยจัดหาลูกจ้างที่ใบอนุญาติยังไม่หมดอายุเข้ามาทำงานเท่านั้น หรือ หาทางป้องกันไม่ให้ลูกจ้างที่ใบอนุญาติหมดอายุทำงานที่เสี่ยงจนกว่าจทำการต่อใบอนุญาติ 
  • จุดมุ่งหมายของธุรกิจ
    ต้องการเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยการลดจำนวนของลูกจ้างที่ใบอนุญาติหมดอายุ ลดค่าใช้จ่ายของตัวแทนที่ต้องจัดหาลูกค้าที่จะหมดอายุ
  • ขบวนการในปัจจุบัน
    ให้แต่ละผู้จัดการในส่วนต่าง ๆ ตรวจสอบวันหมดอายุของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • วิธีการตอบปัญหา
    ทำตารางเวลาของรายงานจากฐานข้อมูลส่วนกลาง แต่ละแผนกโดยมีรายละเอียดของลูกจ้าง และวันหมดอายุของใบอนุญาติส่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง



1 comment:

Anonymous said...

วิธีการหนึ่งของการวิเคราะห์ตัดสินใจ คือการนำปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หนึ่ง ๆ (ปัจจัย A-Z) มาทำการศึกษารูปแบบ (โดยใช้ algorithm ในการเรียนรู้) โดยมีการนำข้อมูลเก่า ๆ มาศึกษา โดยหาความคล้ายคลึงกันของข้อมูล และกำหนดออกมารูปแบบ (pattern) ในการตัดสินใจ

ข้อมูลทางด้าน Finance อาจนำมาใช้เป็นปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของการตัดสินใจได้ (เป็นหนึ่งในปัจจัย A-Z)

โดยข้อมูลที่มีรูปแบบ (Pattern) ที่คล้ายคลึงกับข้อมูลในอดีตจะมีโอกาสที่เกิดการวิเคราะห์ที่ถูกต้องมากกว่า ข้อมูลที่มีลักษณะที่แปลกแตกต่างออกไป

โดยข้อมูลใหม่ที่แตกต่างนั้น สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ของระบบที่มีความซ้ำซ้อนมากยิ่งขึ้นได้