แล้วงานก็เข้าอีกทีเมื่อเกิดปัญหาดังนี้
มีการติดตั้งการใช้งาน Application Server ที่ Data Center โดยที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานผ่านทาง Internet
แต่แล้วเมื่อทางเราทำการแก้ไข Application ที่บริษัท และต้องการ Update Application ผ่านทาง SVN ก็เกิดปัญหาขึ้นดังนี้
- ทาง Data Center ไม่สามารถทำการกำหนด Firewall โดยให้สิทธิ์การ SVN ผ่าน Dynamic DNS ได้ ต้องใช้ IP อย่างเดียว ซึ่งงานนี้ไม่สะดวกแน่
- ถึงแม้จะทำการต่อ VPN จาก Local Network ไปยัง Application Server ได้ ก็ต้องขอเปิด Port เพื่อทำการ SVN มายัง Local Network ผ่านทาง VPN อยู่ดี ก็ไม่สะดวกอีก ตามข้อ 1
- ถ้าหากใช้การ Upload code ที่ทำการ Release version ไว้แล้ว ก็จะทำให้ใช้ Bandwidth มาก เพราะว่าไฟล์มีขนาดใหญ่ อีกทั้ง เราก็มี SVN Repository นี่นา
โชคดีที่เมื่อก่อนทำงานเป็น System Engineer มาบ้าง วิธีแก้ของผมก็มีดังนี้นะครับ
เนื่องจากเรามี Server ที่ใช้งานเป็น Application อยู่ ก็เลยขอนำมาทำเป็น SVN proxy repository โดยจะต้องให้ทาง Data Center ทำการกำหนดให้สามารถทำการเชื่อมต่อ มายังเครื่องนี้ผ่านทาง protocal ที่กำหนด
จากนั้นเครื่องที่ SVN proxy repository ก็ทำการสร้าง Tunnel ที่เชื่อมต่อมายังเครื่อง Repository Server ตามนี้ Tunnel
แล้วเครื่อง Application ก็ทำการ SVN update ผ่านทาง SVN proxy ได้แล้ว
สร้าง Tunnel ระหว่าง SVN proxy repository (2.2.2.2) มายังเครื่อง Local Network (1111.dyndns.org)
svn-proxy:$ ssh -L 2.2.2.2:8443:localhost:443 username@1111.dyndns.org
Update SVN ผ่านทาง SVN proxy repository
application-server:$ svn up https://2.2.2.2:8443/ssvn/project/trunk
ซึ่งเราก็จะใช้งานได้แล้ว
สรุป: ผู้พัฒนาระบบนอกจากจะต้องเข้าใจในเรื่องของ Application Software แล้ว ควรจะเข้าใจในส่วนของ โครงสร้างเครือข่ายด้วย
ปล. (น้อยใจนิด ๆ ) เนื่องจากเราเป็น local company จึงไม่รู้ว่า เวลาที่เป็น international company ถ้าต้องการเปิดสิทธิ์นี้ ทาง Data Center เค้าจะรีบทำกันขนาดไหน อิ อิ
No comments:
Post a Comment