รถเมล์ที่ผมเคยนั่ง สาย ปอ.พ. 20 จากนนทบุรีมาซีคอน นาานมากกก ไม่รู้นั่งไปได้ไง ก็ไม่มีคนเก็บค่าโดยสาร ผู้โดยสารจะต้องดูว่ามีที่ว่างให้นั่งหรือไม่ (เพราะว่า ปอ.พ. 20 ไม่ให้ยืน) แล้วค่อยขึ้นไป (ไม่เหมือนรถแท็กซี่สมัยนี้มีคำว่า "ว่าง" บอก) ผู้โดยสารต้องทำการจ่ายค่าโดยสารแบบไม่มีระบบทอน ก่อนเข้าไปนั่ง แล้วทำไมไม่มีคนเก็บค่าโดยสาร?
รถสองแถว ซอยอ่อนนุช ก็ไม่เห็นมีคนเก็บค่าโดยสาร ทุกคน หลังจากกดอ๊อดเพื่อแจ้งให้คนขับรถ จอด เมื่อเดินลงรถไปแล้วก็จะกุรีกุจอไปจ่ายค่าโดยสาร นั่นแสดงว่าไม่จำเป็นต้องมีคนเก็บค่าโดยสารหรือ?
สองแถว เรวดี สายนี้ ปัจจุบันยังมีคนเก็บค่าโดยสารอยู่ มีแบบเดินไปเก็บถึงที่นั่ง และแบบก่อนลงค่อยจ่าย ทำไมไม่เหมือนที่อ่อนนุช?
อะไรทำให้มีหรือไม่มีคนเก็บค่าโดยสาร ขนาดของรถ? เส้นทางเดินรถ? บริษัทเดินรถ?
กรณีของ ปอ.พ 20 เข้าใจได้ว่า บนรถโดยสารไม่มีพื้นที่พอให้มีคนเก็บค่าโดยสาร ทำให้คนขับรถต้องทำหน้าที่ไป หรืออาจเป็นเพราะว่าต้องการเปลี่ยนแนวทางเดิมที่มีพนักงานเก็บค่าโดยสาร แต่ผมก็ชอบแบบนี้นะ
กรณีของเรวดี ที่ต้องมีคนเก็บค่าโดยสารเพราะว่า เป็นรถคันใหญ่ ทำให้การจ่ายค่าโดยสารทำแบบที่อ่อนนุชไม่ได้ แบบนี้ไม่ดี
กรณีของอ่อนนุชทำให้เห็นว่า เล็ก ๆ คล่อง เร็ว ดี
สรุปว่าไม่มีก็ได้นี่หว่า ... ถ้าจัดการได้
ผมคิดว่ารถเมล์บ้านเราปัญหาทั้งหลายทั้ง ขสมก. หรือ รถร่วมบริการก็ดี คือ ขาดการจัดการ บ่อยครั้งที่ผมจะเห็นว่าในชั่วโมงเร่งด่วน ไม่มีรถให้โดยสาร หรือถ้ามีก็จะเป็น 2 คันวิ่งติดกันมาติด ๆ โดยที่คันแรกแน่นขนัด ส่วนคันที่สองวิ่งเร็วฉิวแซงคันแรกไปเข้าอู่ แต่ไม่ค่อยมีผู้โดยสาร
ในฝันที่ผมฝันไว้กับรถเมล์โดยสารคือ
- เป็นคันเล็กเท่า ๆ กับ ปอ.พ 20 ทุกคันติดระบบปรับอากาศ ทุกคันเป็นระบบ ไบโอดีเซล เพราะว่าผมเชื่อว่า ไบโอดีเซล ประเทศเราผลิตเองได้ หรือระบบกึ่งระบบไฟฟ้าก็ได้
- ไม่ต้องมีคนเก็บค่าโดยสาร ใช้ระบบหย่อนเงินค่าโดยสาร หรือตัดจากบัตรโดยสารรายเดือนก็ได้
- ไม่มีการยืนบนรถ แต่ให้มีหลาย ๆ คัน โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน ส่วนชั่วโมงปกติก็ทำตารางเวลาการเดินรถ
- รถเมล์ทุกคันมีการตรวจสอบจำนวนผู้โดยสารและให้พนักงานขับรถทำการส่ง SMS แจ้งให้ทางศูนย์การเดินรถทราบว่ามีผู้โดยสารคนอื่น ๆ ต้องการรถโดยสาร เพื่อนำมาวิเคราะห์จำนวนรถที่ต้องบริการในแต่ละช่วงเวลา
- ผู้โดยสารทำการต่อแถวเพื่อรอขึ้นรถเมล์ตามก่อนหลัง เพราะว่าเดี๋ยวมีรถมารับแน่นอน
- มีระบบวิเคราะห์การเดินรถและแจ้งตารางเดินรถให้ผู้โดยสารทราบจาก SMS หรือ WEB ก็ได้
ด้วยจำนวนของผู้โดยสารแต่ละวันและช่วงเวลาที่แน่นอนในการเดินทาง ผมเชื่อว่าถ้าหากมีการจัดการที่ดี ย่อมทำให้ ขสมก. มีรายได้แน่นอน
100,000 คน คิดคนละ 20 บาทต่อเที่ยว 1 วันต้องเดินทางอย่างน้อย 2 เที่ยว ดังนั้นก็จะมีรายได้วันละ 4 ล้านบาท มันเหมือนกระปุกออมสินเคลื่อนทีเลยทีเดียว แค่ผู้ลงทุนต้องไม่หวังผลในระยะสั้น
ผมเคยถามน้องที่บ้านที่ต้องนั่งรถเมล์ไปทำงานทุกวัน "หากต้องซื้อรถขับมาทำงาน จะซื้อหรือไม่ เพราะอะไร" คำตอบคือ "ซื้อ" เหตุผลแรกคือ ไม่มีรถเมล์ให้โดยสาร พอมีก็แน่นเป็นปลากระป๋อง ไม่รู้จะทำอย่างไรนอกจากซื้อรถขับไปคนเดียว
นั่นแหละเป็นปัญหาของการจราจรในปัจจุบัน ไม่ใช่ว่ารถเยอะแต่เป็นเพราะว่ารถน้อยต่างหาก มันน้อยและบริการไม่ดี ไม่จัดการ ทำให้ผู้คนต้องช่วยเหลือตัวเองด้วยการซื้อรถยนต์ส่วนตัว
ผมคิดว่ารถไฟฟ้าใต้ดินหรือลอยฟ้า ไม่ได้เป็นคำตอบของการแก้ปัญหารถเมล์ แต่เป็นการเพิ่มช่องทางมากกว่าการแก้ปัญหา
1 comment:
เดี๋ยวนี้ยังมีปอ.พ.อีกเหรอ ????
จำได้ว่าสมัยก่อน (15 ปีขึ้น) เรียนมหาวิทยาลัย นั่งปอ.พ.ไปเรียน (วิ่งอ้อม โคตร ) นั่งสบายดี สบายใจ ฟังเพลงจากซาวด์อบาวท์ไป (สมัยก่อนยังใช้ ซาวด์อบาวท์อยู่เลย) แอร์เย็น ๆ ไม่มีใครมาเบียดข้าง ๆ ไม่ต้องห่วงว่าจะไปแย่งที่ใครนั่ง (และไม่ต้องระวังว่าจะมีใครมานั่งตักเรา เอิ๊ก ๆๆๆๆๆ เคยป่าวจู่ ๆ มีคนมานั่งตักน่ะ)
แต่เสียอย่างเดียว กว่าจะขึ้นรถได้ รอแถวกันยาวเลย แถมบางคนขึ้นรถไม่เตรียมตังค์ให้พออีกต่างหาก ปอ.พ.นี่คนขับเหนื่อยมากเลยนะ เนื่องจากว่าบางทีเวลาขับรถรับคนเข้าป้าย บางป้ายรอนานไม่ได้ หรือบางทีก็ด้วยคุณพี่คนขับขี้เกียจรอ ถ้ามีไม่กี่คนแกก็จะให้รีบ ๆ ขึ้น ๆ มาก่อน แล้วค่อยมาหย่อนเงินทีหลัง ตอนนี้แหละเป็นเรื่องเลย บางคนเพิ่งมารู้ตัวว่าไม่มีตังค์พอ ต้องใช้แบงค์ใหญ่ ให้คนขับทอน คุณพี่คนขับก็ใจดี มือนึงขับ มือนึงถอนตังค์ บางทีคุณพี่ไม่มีถอน คุณพี่ก็หันมาคุยกับคนนั่งว่าใครมีบ้าง
เก่งนะ พี่คนขับปอ.พ.น่ะ เห็นแล้วทึ่งเลย
เราว่านะ ถ้าจะให้คนไปใช้รถเมล์นะ ต้องทำยังไงก็ได้ให้ทุกคนมีที่นั่ง และแอร์เย็น ๆ บางทีเรื่องระยะทาง หรือรถติดไม่ใช่ปัญหาเลย ขอแค่ได้นั่งสบาย คนก็ยินดีขึ้นรถเมล์แล้ว
จาก.... อดีตเด็กชอบนั่งรถเมล์อ้อม (ขอให้ได้นั่ง อ้อม(ไกล) แค่ไหนฉันก็รับได้)
Post a Comment